• ข่าวสารและกิจกรรม
  • ...อีซูซุทรัคทูเดย์
  • คุณพีระพัชร์ จิระวัฒนเอก

  • 29 ธันวาคม 2563

    คุณพีระพัชร์ จิระวัฒนเอก

    นายกสมาคมขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ชูหลักบริหาร... “ความรับผิดชอบต้องมาก่อน” ธุรกิจจึงสำเร็จแบบยั่งยืน

    คุณพีระพัชร์ จิระวัฒนเอก

    ในวงการธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์เมืองไทยแน่นอนว่าคงคุ้นชินกับชื่อ “พีระพัชร์ จิระวัฒนเอก” ท่านนายกสมาคมขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย นักธุรกิจแถวหน้าผู้บริหารความสำเร็จของกลุ่มจิระโลจิสติกส์ ทั้ง “บริษัท จิระโลจิสติกส์ จำกัด” และ “หจก. จิระทรัคกิ้ง” ด้วยนโยบายตั้งมั่น “ความรับผิดชอบต้องมาก่อน” จนเป็นที่ยอมรับจากบริษัทใหญ่ระดับประเทศอย่างปูนตรานกอินทรีย์ให้เป็น 1 ใน 5 คู่ค้าสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจสู่ผู้บริโภคแบบครบวงจร

    เพราะการขนส่งและจัดหาวัตถุดิบในการก่อสร้างไม่ใช่แค่การซื้อมา-ขายไป หรือแค่การขนส่งเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการบริการแบบมีโซลูชั่นเสริมต่าง ๆ ให้ลูกค้าและเราเติบโตอย่างมั่นคงไปด้วยกัน

    ก่อนหน้านั้นผมเป็นผู้บริหารในบริษัทเกี่ยวกับเอ็นจิเนียริ่งอยู่ 10 กว่าปีและไปคลุกคลีอยู่ในแวดวงรถบรรทุกอีกพักใหญ่ รวมแล้วกว่า 20 ปีทำให้ผมมีความมั่นใจและกล้าท้าทายตัวเองด้วยการตั้งบริษัทของตัวเองขึ้นมาในปี พ.ศ. 2550 โดยอาศัยคอนเนคชั่นและประสบการณ์ที่สั่งสมมาเริ่มจากซื้อรถบรรทุกรับงาน จากงานเล็ก ๆ ก็ค่อย ๆ ไต่เต้ารักษามาตรฐานงานจน บริษัท ใหญ่ ๆ ไว้วางใจ เพราะเราไม่ได้ทำขนส่งอย่างเดียว แต่ยังช่วยจัดหาวัตถุดิบอื่น ๆ ทั้งหินและทรายให้คู่ค้าด้วยแถมผมยังมีการนำเสนอแผนงานเพื่อเพิ่มความคุ้มค่าให้กับลูกค้าถือเป็นจุดเด่นที่ทำให้ บริษัทฯ เราแตกต่าง ทั้งการสื่อสารที่เป็นระบบ การวางแผนงานล่วงหน้า การนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาด้วยวิธีการใหม่ ๆ หลังจากที่เปิดบริษัทแรก จิระ โลจิสติกส์ จำกัด ที่รับขนส่งและขายวัตถุดิบได้เพียง 2 ปี ก็ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าระดับชั้นนำของประเทศหลายรายทำให้ก่อตั้งบริษัทเพิ่มใหม่ โดยใช้ชื่อ หจก. จิระ ทรัคกิ้ง ให้บริการด้านจัดการขนส่ง 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งนอกจากรถของผมเองแล้ว ผมยังมีซัพพลายเออร์ (Supplier) ที่ใช้ที่วิ่งกันประจำอยู่อีกประมาณหนึ่ง เพราะหลักการทำงานของผมจะไม่ออกรถเพื่อวิ่งงานเองทั้งหมด แต่ผมจะใช้รถของผมเองประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงอย่างช่วงที่งานลดน้อยลง รถของเรายังมีงานวิ่งปกติ ส่วนของซัพพลายเออร์ผมก็ไม่ได้ทิ้งแต่จำนวนงานก็ลดหลั่นลงไป ปัจจุบันผมมีรถบรรทุกทั้งหมด 80 คัน พนักงานขับก็ตามจำนวนรถ ส่วนของออฟฟิศก็ไม่ได้ใช้คนมาก เน้นเอาระบบหรือเทคโนโลยีทันสมัยมาปรับใช้ให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น

    และด้วยความยึดมั่นในแก่นหลัก “ความรับผิดชอบมาก่อน” ทำให้ธุรกิจในมือประสบความสำเร็จและเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะเราทำธุรกิจขนส่ง ผมจึงเน้นเรื่องนี้มาก ทั้งความรับผิดชอบต่อสังคม คือ การที่เราจะไม่ทำอะไรที่ผิดกฎหมาย เช่น ไม่บรรทุกเกินน้ำหนักที่กฎหมายกำหนด คลุมผ้าใบบรรทุกทุกครั้ง รับผิดชอบเรื่องการดูแลรถ เพราะว่ารถบรรทุกถ้าหากดูแลไม่ดีจะเกิดความเสียหายต่อส่วนรวมเยอะบนท้องถนน ถ้าเป็นเรื่องการทำงานผมจะรับผิดชอบอยู่ 3 ส่วนหลักคือ

    1. ลูกค้า เขาคาดหวังอะไร ผมพยายามตอบสนองกลับไปให้เกินกว่าที่เขาคาดไว้ เวลาเกิดปัญหาขึ้นผมไม่เคยปฏิเสธลูกค้า เลือกที่จะตอบรับและหาทางแก้ไขไปพร้อม ๆ กัน สร้างคุณภาพงาน แสดงให้ลูกค้าเห็นว่าเราคือมืออาชีพ ผมมีระบบการติดตามว่างานสำเร็จเรียบร้อยไหม ส่งครบตามที่วางไว้หรือไม่ ถ้าส่งไม่ครบผมก็ต้องทราบเหตุผลว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร เพื่อจะได้ตามไปแก้ปัญหาได้ตรงจุด แม้ว่าจะต้องขาดทุนไปซื้อวัตถุดิบจากที่อื่นที่ราคาสูงกว่าเพื่อที่จะส่งมอบให้ลูกค้าได้ทันผมก็ยอม
    2. คู่ค้านี่ก็สำคัญ ต้องจริงใจต่อกัน และผมเป็นคนที่ยึดมั่นในเรื่องคำมั่นสัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการเงินนี่สำคัญมาก เราโตไปกับคนที่เราคิดว่าเขามั่นคง และค่อย ๆ โตไปด้วยกันดีกว่า การที่ผมได้รับเชิญให้มาเป็นคณะกรรมการสมาคมขนส่งแห่งประเทศไทย ทำให้ได้รู้จักคู่ค้าหลายแบรนด์ โดยเฉพาะอีซูซุ การได้ทำงานร่วมกัน ผมเห็นความจริงใจ ความเอาใจใส่ เพราะเวลาผมเลือกซื้อรถ ผมเลือกรถที่มีคุณภาพ และความคุ้มค่า ซึ่งอีซูซุให้ผมได้มากกว่า นอกจากคุณภาพของรถแล้ว อีซูซุยังคอยดูแลเราตลอดจนเกิดเป็นความผูกพัน อีซูซุเป็นมากกว่าคู่ค้า แต่เป็นเหมือนเพื่อน เหมือนครอบครัวไปแล้ว ทุกวันนี้รถที่เราซื้อใหม่เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์คืออีซูซุทั้งหมด หลังจากได้สัมผัสได้ลองใช้มาหลายยี่ห้อ ผมบอกได้เลยว่ารถอีซูซุดีกว่าชัดเจน ยกตัวอย่างเช่นอัตราสิ้นเปลืองน้ำมัน ที่ผมเก็บเป็นสถิติเป็นตัวเลข ทำให้รู้ว่าอันไหนใช้แล้วคุ้มสุด และที่ยิ่งได้ใจผมไปเลยคือ อีซูซุมีความจริงใจในการเข้ามาร่วมสนับสนุนกิจกรรมกับทางสมาคมฯ สะท้อนให้เห็นว่าอีซูซุทำธุรกิจโดยให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นหลักจริงๆ
    3. พนักงานผมให้ใส่ใจในเรื่องการพัฒนาลูกน้อง ผมไม่ได้เป็นเหมือนแค่บริษัทซะทีเดียวผมดูแลพนักงานเหมือนครอบครัวควบคู่กันไปจึงตัดปัญญหาเรื่องขาดคนงานไปได้ เพราะผมมองระยะยาวมากกว่าระยะสั้น นี่คือวิธีการทำงานที่ไม่เหมือนคนอื่น

    สิ่งสุดท้ายที่อยากฝากให้นักโลจิสติกส์รุ่นใหม่คำนึงถึงคือ “การบริหารต้นทุน”

    ผมว่าความยากลำบากในวงการขนส่ง คือการที่มีปริมาณรถมากกว่าปริมาณงาน การแข่งขันที่สูงทำให้ราคาของการขนส่งต่ำลง ธุรกิจขนส่งจึงโตยาก ฉะนั้นการบริหารต้นทุนจึงสำคัญ นักธุรกิจรุ่นใหม่บางคนยังไม่ทราบเลยว่าต้นทุนขนส่งต่อกิโลเมตรเป็นเท่าไหร่ นอกจากนี้อยากให้คำนึงถึงปัจจัยการแข่งขันอื่น ๆ ทั้งภายนอกและภายในที่อาจส่งผลกระทบกับธุรกิจที่ต้องเริ่มต้นใหม่ด้วย
    คุณพีระพัชร์ จิระวัฒนเอก
    คุณพีระพัชร์ จิระวัฒนเอก